Print Sermon

เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์

ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร

ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net




จะอธิษฐานและจัดการประชุมอธิษฐานอย่างไร

(คำสอนของ ดร. ทิโมธี หลิน 1911-2009)
HOW TO PRAY AND HOW TO CONDUCT A PRAYER MEETING
(THE TEACHINGS OF DR. TIMOTHY LIN, 1911-2009)
(Thai)

เขียนบทเทศนาโดย ดร. อาร์ เอล ไฮเมอร์ส
และเทศนาโดย จอห์น ซามูเอล คากน
ณ คริสตจักรแบ๊บติสต์เทเบอร์นาเคล นครลอสแอนเจลิส
วันของพระเป็นเจ้า ตุลาคม 15, 2012
A sermon written by Dr. R. L. Hymers, Jr.
and preached by Mr. John Samuel Cagan
at the Baptist Tabernacle of Los Angeles
Lord’s Day Evening, October 15, 2017

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)


ศิษยาภิบาลของ ดร. ไฮเมอร์สมาเป็นเวลานานที่ ชื่อ ดร. ทิโมธี หลิน (1911-2009) ท่านเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์เป็นอย่างดี ท่านจบปริญญาเอกด้านต่างๆ เช่นภาษาฮิบรูและภาษาท้องถิ่น ในปี 1950 ท่านจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบ๊อบโจนส์ ต่อมาท่านมาสอนศาสนศาสตร์ระบบ ศาสนศาสตร์ พันธสัญญาเดิมในภาษาฮีบรู ภาษาอราเมค ภาษาอาหรับโบราณ และปาชิตา ซีเรีย ต่อมาท่านย้ายไปเป็นอธิการบดีของวิทยาลัยศาสนาแห่งประเทศจีน ก่อตั้งโดย ดร. เจมส์ ฮัดสันเทย์เลอร์ที่สาม นอกจากนี้ท่านยังเป็นหนึ่งในนักแปลพระคัมภีร์เดิมฉบับ New American Standard Bible (NASB) ดร. หลินเป็นศิษยาภิบาลของดร อาร์ เอล ไฮเมอร์ส เป็นเวลาถึงยี่สิบสี่ปี ดร. ไฮเมอร์ส กล่าวว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่า ดร. หลินเป็นศิษยาภิบาลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่ท่านเคยรู้จัก เมื่อท่านยังเป็นสมาชิกที่คริสตจักรจีน ดร. ไฮเมอร์ส ได้เห็นพระเจ้าส่งการฟื้นฟูลงมาที่นั่น จนมีหลายร้อยคนได้รับความรอดและเข้ามาในคริสตจักรในเวลานั้น

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)

หนังสือแปลพระคัมภีร์ส่วนใหญ่แปลข้อนี้ผิด ตัวอย่างเช่น ฉบับแปลที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งกล่าวว่า "โดยทั่วไปโลกจะไม่เชื่อ" แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่พระเยซูกำลังตรัสถึงในข้อนี้ พระองค์ไม่ได้พูดถึงการละทิ้งความเชื่อในยุคสุดท้าย หรือพระเยซูตรัสถึงคริสเตียนที่แท้จริงในตอนที่พระองค์เสด็จกลับมา ในความเป็นจริงพระเยซูตรัสกับเปโตรนั้นตรงข้าม

“และเราบอกท่านด้วยว่า ท่านคือเปโตร และบนศิลานี้เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้ และประตูแห่งนรกจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นก็หามิได้” (มัทธิว 16:18)

มัทธิว 16:18 แสดงให้เราเห็นว่า ไม่ว่าคนจะละทิ้งความเชื่อมากมายก็ตาม แต่คริสเตียนที่รอดก็มีจำนวนมากมายด้วยในตอนที่พระเยซูเสด็จกลับมา คริสเตียนที่แท้จริงจำนวนมากจะถูกรับขึ้นไปสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและประเทศในโลกที่สามที่มีการฟื้นฟูในทุกวันนี้

“ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าเองจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยเสียงกู่ก้อง ด้วยสำเนียงของเทพบดี และด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงที่ตายแล้วในพระคริสต์จะเป็นขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นเราทั้งหลายซึ่งยังเป็นอยู่และเหลืออยู่ จะถูกรับขึ้นไปในเมฆพร้อมกับคนเหล่านั้น เพื่อจะได้พบองค์พระผู้เป็นเจ้าในฟ้าอากาศ อย่างนั้นแหละเราก็จะอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นนิตย์” (1 เทสะโลนิกา 4:16-17)

แม้แต่ในช่วงกลียุค ก็ยังมีคริสเตียนมากมายได้รับความรอด

“คนมากมาย ถ้ามีผู้ใดจะนับประมาณมิได้เลย มาจากทุกชาติ” (วิวรณ์ 7:9)

“คนเหล่านี้คือคนที่มาจากความทุกข์เวทนาครั้งใหญ่ พวกเขาได้ชำระล้างเสื้อผ้าของเขาในพระโลหิตของพระเมษโปดกจนเสื้อผ้านั้นขาวสะอาด” (วิวรณ์ 7:14)

ดังนั้น พระเยซูมิได้ตรัสถึง ความเชื่อแห่งความรอดตอนที่พระองค์เสด็จกลับมา ตอนที่พระองค์ตรัสว่า

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)

I. ประการที่หนึ่ง ความสำคัญของความอดทนต่อการอธิษฐาน

พระคัมภีร์ฉบับแปลส่วนใหญ่ผิด แต่ ดร. หลิน ได้อธิบายข้อนี้ไว้ว่า

คำว่า “ควมเชื่อ” ในพระคัมภีร์ นั้นใช้อย่างกว้างๆ แต่ความหมายเจาะจงนั้นคือหลังจากมีการวิเคราะห์ก่อน ซึ่งในข้อนี้นั้นจะอยู่ในแบบคำอุปมา ซึ่งแสดงว่าควรต้องอธิษฐานในทุกเวลา และไม่อ่อนล้า [ลูกา 18:1-8ก], ซึ่งข้อที่ตามมา [ลูกา 18:9-14] เป็นคำอุปมาของการอธิษฐานของพวกฟาริสีและคนเก็บภาษี เนื้อหาสำคัญในข้อนี้ [ลูกา 18:8] ซึ่งบ่งบอกชัดเจนถึงคำว่า “ความเชื่อ” ในที่นี้กล่าวถึงความเชื่อในการอธิษฐาน และคำตรัสของพระเยซูคริสต์ในที่นี้กล่าวถึงความเศร้าที่เกิดให้กับคริสตจักรที่ละทิ้งความเชื่อของการอธิษฐาน ตอนพระองค์เสด็จกลับมา (Timothy Lin, Ph.D., The Secret of Church Growth, First Chinese Baptist Church of Los Angeles, 1992, pp. 94-95)

ดร. หลิน กล่าวว่า จุดหลักของคำอุปมาในลูกา 18:1-8 บอกใคริสเตียนจะต้องยืนหยัดต่อการอธิษฐาน และไม่ท้อ ข้อที่แปดแสดงว่าคริสเตียนขาดความอดทนในการอธิษฐานในยุคสุดท้าย นั่นคือยุคที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้ ดังนั้นเราสามารถตีความข้อนี้ว่า

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ [ในการอธิษฐานอย่างจริงจัง] ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)

ดร. กล่าวอีกว่า

การประชุมอธิษฐานของคริสตจักรหลายแห่งในปัจจุบันเถูกทอดทิ้ง (หรือถูกเปลี่ยนไปเป็นการศึกษาพระคัมภีร์จะมีการอธิษฐานก็เป็นเพียงครั้งสองครั้ง) ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกที่คริสตจักรหลายนั้นเห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ! [บ่อยครั้ง] ที่เห็นมีละทิ้งกลุ่มอธิษฐานในปัจจุบันนี้ นี่จึงเป็นหมายสำคัญที่ชี้ให้เราเห็นว่าใกล้วันที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมาแล้ว ปัจจุบันนนี้มีสมาชิกในหลายคริสตจักรที่นมัสการโทรทัศน์มากกว่าพระเจ้าของพวกเขา ... อันนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าจริงๆ ... นี่คือคริสตจักรแห่งยุคสุดท้าย... ไม่ใส่ใจ [ขาดความสนใจ] ต่อการประชุมอธิษฐาน (Timothy Lin, Ph.D., ibid., p. 95)

ดังนั้นลูกา 18: 8 จึงเป็นสัญญาณของการขาดการอธิษฐาน ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาครั้งที่สอง นี่คือช่วงที่เราอาศัยอยู่นี้ หมายสำคัญของการขาดการอธิษฐาน แต่ไม่ใช่ไม่มีความเชื่อ การขาดการอธิษฐานคืออีกหนึ่งหมายสำคํยที่แสดงวันคริสตจักรกำลังอยู่ในยุคสุดท้าย ก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาในครั้งที่สอง

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ [ในการอธิษฐานอย่างจริงจัง] ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)

II. ประการที่สอง ความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน

ดร. หลินยังชี้ให้เห็นว่าการอธิษฐานของคนๆเดียวจะไม่มีพลังอำนาจเท่ากับการอธิษฐานเป็นกลุ่มท่านกล่าวดังนี้ว่า"

คนมักพูดว่า ไม่ว่าคุณจะอธิษฐานคนเดียว หรือเป็นหมู่คณะก็ไม่มีความแตกต่างอะไรเลย ไ/ม่ว่าคุณจะอธิษฐานที่บ้านคนเดียว หรือเข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานกับพี่น้องในคริสตจักร คำพูดนี้แสดงให้เห็นถึงคนที่เห็นแก่ตัว และขี้เกียจเท่านั้น หรือแสดงให้เห็นถึงคนที่ไม่ใส่ใจต่อการอธิษฐาน! ลงดูสิ่งที่พระเยซูทรงตรัสเกี่ยวกับแง่มุมของการอธิษฐานนี้:

“กล่าวแก่ท่านทั้งหลายอีกว่า ถ้าในพวกท่านที่อยู่ในโลกสองคนจะร่วมใจกันขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ก็จะทรงกระทำให้ ด้วยว่ามีสองสามคนประชุมกันที่ไหน ๆ ในนามของเรา เราจะอยู่ท่ามกลางเขาที่นั่น” (มัทธิว 18:19-20)

     พระเจ้าของเราทรงเตือนเรา อย่างนี้ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าจะไม่สามารถบรรลุได้ด้วยความพยายามของคนแค่คนเดียว แต่ผ่านทางความพยายามขององค์กรที่ดำเนินการโดยคริสตจักร ทั้งมวล กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ต่อเมื่อ ... ทุกคนในคริสตจักร [อธิษฐาน] เป็นน้ำหนึ่วใจเดียวกัน... คริสตจักรสามารถมีอำนาจเช่นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     คริสตจักรในยุคสุดท้ายไม่อาจมองเห็นความเป็นจริงของนี้ได้ หรือจำขั้นตอนเกี่ยวกับการ [รับ] ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า นี่คือการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่! คริสตจักรรับฤทธิ์อำนาจอันสูงสุดจากสวรรค์ แต่ไม่ใช่ความรู้ใดๆ แต่ [คริสตจักร] ต้องการผูกมัดซาตาน เพื่อหลบหนีผู้ที่ถูกลงทัณฑ์และเพื่อสัมผัสกับความเป็นจริงของการทรงสถิตย์ของพระเจ้า อนิจจามันไม่สามารถทำได้! (Timothy Lin, Ph.D., ibid., pp. 92-93)

ดร. ได้สอนถึงความสำคัญของการอธิษฐานด้วยความเชื่อ และความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน

III. ประการที่สาม ความสำคัญของ “การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน”

กรุณาเปิดไปที่กิจการ 1:14 และอ่านดังๆ

“พวกเขาร่วมใจกันอธิษฐานอ้อนวอนต่อเนื่องพร้อมกับพวกผู้หญิง และมารีย์มารดาของพระเยซูและพวกน้องชายของพระองค์ด้วย” (กิจการ 1:14)

“พวกเขาร่วมใจกันอธิษฐานอ้อนวอนต่อเนื่อง…” ดร. หลิน กล่าวว่า

พระคัมภีร์ฉบับภาษาจีนแปลว่า “เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” เหมือน “การมีจิตใจเดียวกัน” ดังนั้น การมีพระเจ่ทรงสถิตในกลุ่มอธิษฐานไม่เพียงแต่กลุ่มผู้เข้าร่วมเข้าใจความจริงของการอธิษฐาน แต่ยังคงมา [เข้าร่วมอธิษฐาน] ด้วยจิตใจที่ถ่อมสภาพ… กราบทุน อธิษฐาน ขอร้อง และการขอบพระคุณพระเจ้าร่วมกัน นั่นคือรูปแบบที่สมบูรณ์แบบของการอธิษฐาน (Timothy Lin, Ph.D., ibid., pp. 93-94)

นี้คือ "อธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน" เราทุกคนต้องพูดว่า "อาเมน" ในขณะที่คนใดคนหนึ่งนำเราอธิษฐาน เมื่อเราทุกคนพูดว่า "อาเมน" นั่นแสดงว่าเรากำลังอธิษฐาน "เป็นหนึ่งใจเดียวกัน"

คุณเคยได้ยินคำสอนของ ดร. หลิน เกี่ยวกับความสำคัญของการอธิษฐานด้วยความเชื่อความสำคัญของการประชุมอธิษฐาน และความสำคัญของความสามัคคีแบบ "อธิษฐานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน" แต่บางท่านที่นี่ในคืนนี้ ยังไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานของเรา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมชีวิตของคุณดูช่างน่าท้อแท้! มีผู้ใดที่นี่ในคืนนี้ที่จะพูดว่า "อาจารย์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเข้าร่วมการประชุมอธิษฐานอย่างน้อยหนึ่งครั้ง"? กรุณาปิดตาของคุณ ถ้าคุณทำเช่นนั้นโปรดยกมือขึ้น ทุกคนโปรดอธิษฐานขอพระเจ้าทรงช่วยให้พวกเขารักษาคำมั่นสัญญานี้! (ทุกคนอธิษฐาน)

ถ้าคุณยังไม่ได้กลับใจใหม่ ผมขอแนะนำให้คุณเข้าร่วมการประชุมอธิษฐานในตอนเย็นวันเสาร์ กรุณาปิดตาของคุณ มีใครไหมที่จะบอกว่า "ใช่ อาจารย์ฉันจะเริ่มต้นเข้าร่วมกลุ่มอธิษฐานในทุกคืนวันเสาร์ทุกครั้ง" มีหรือไม่? โปรดยกมือขึ้น ทุกคนอธิษฐานขอให้พวกเขารักษาคำมั่นสัญญาไว้! (อธิษฐาน)

พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อชำระบาปของคุณ พระองค์ทรงหลั่งโลหิตของพระองค์เพื่อล้างบาปของคุณออกไป พระองค์ทรงทนกับความทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวและถูกตรึงไว้กับไม้กางเขน ที่นั่นทรงเอาชนะความบาปของคุณ พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายในวันที่สาม พระองค์ทรงพระชนม์ และประทับ ณ เบื้องพระหัตถ์ขวาของพระเจ้า จงมาหาพระคริสต์แล้วคุณจะรอดพ้นจากบาปของคุณ

มีใครไหมในคืนนี้ที่ยังไม่ได้รับความรอด และต้องการให้เราอธิษฐานเพื่อการกลับใจใหม่ของคุณ? กรุณาหลับตาอีกครั้ง โปรดชูมือของคุณเพื่อให้เราสามารถอธิษฐานเผื่อคุณได้ ขอทุกคนอธิษฐานให้พวกเขาสำนึกผิดในความผิดบาปของพวกเขา และมาหาพระคริสต์เพื่อรับการชำระให้สะอาดจากบาปโดยโลหิตของพระองค์!

ดร. ชาน กรุณานำเราอธิษฐานเผื่อคนที่จะได้รับความรอดในคืนนี้ หากคุณต้องการพูดคุยกับเราเกี่ยวกับการเป็นคริสเตียนที่แท้จริง โปรดยืนขึ้นแล้วเดินตาม ดร. คาเกน จอห์น คาเกน และ โนอาห์ ซอง ไปที่ด้านหลังห้องประชุม พวกเขาจะพาคุณไปยังที่ๆเงียบสงบ เพื่อที่เราจะสามารถพูดคุยและอธิษฐานเผื่อให้คุณกลับใจใหม่

คลิกที่นี่เพื่อไปอ่านชีวะประวัติของ ดร. หลิน ในวิกีพีเดีย

ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ หากคุณได้รับพระพรจากบทเทศนานี้ ดร. ไฮเมอร์ส อยากจะได้ยินจากคุณ ตอนที่เขียนจดหมายถึง ดร. ไฮเมอร์ส กรุณาบอกท่านว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือหากท่านไม่อาจตอบอีเมลล์ของท่าน หากบทเทศนานี้เป็นพระพรให้กับคุณ กรุณาเขียนอีเมล์ส่งไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส และบอกท่านว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร และนี่คืออีเมล์ของดร.ไฮเมอร์ส – rlhymersjr@sbcglobal.net (คลิกที่นี่) คุณสามารถเขียนถึง ดร. ไฮเมอร์ส ในภาษาของคุณ แต่หากเป็นไปได้ก็ขอให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือเขียนส่งจดหมายส่ง ดร. ไฮเมอร์ส ทางไปรษณีตามที่อยู่นี้ P.O. Box 15308, Los Angeles, CA 90015. คุณสามารถโทรศัพท์ไปท่านได้ที่ (818)352-0452

(จบการเทศนา)
คุณสามารถอ่านบทเทศนาของ ดร.ไฮเมอร์ส ในแต่ละสัปดาห์ทางอินเทอร์เน็ทได้ที่
at www.sermonsfortheworld.com.
คลิกที่นี่) “บทเทศนาในภาษาไทย”

หมายเหตุ: ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์
คุณสามารถนำไปใช้โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจาก ดร. ไฮเมอร์ส
แต่อย่างไรก็ตามข้อความทั้งหมดของ ดร. ไฮเมอร์ส
ที่อยู่ในรูปวิดีโอนั้นมีการสงวนลิขสิทธิ์และต้องได้รับการอนุญาตเท่านั้นถึงจะสามารถนำมาใช้ได้

ร้องเพลงพิเศษก่อเทศนาโดย ท่าน เบนจนมิน คินเกด กรีฟี่ท:
“‘Tis the Blessed Hour of Prayer” (Fanny J. Crosby, 1820-1915).


โครงร่างของ

จะอธิษฐานและจัดการประชุมอธิษฐานอย่างไร

(คำสอนของ ดร. ทิโมธี หลิน 1911-2009)
HOW TO PRAY AND HOW TO CONDUCT A PRAYER MEETING
(THE TEACHINGS OF DR. TIMOTHY LIN, 1911-2009)

เขียนบทเทศนาโดย ดร. อาร์ เอล ไฮเมอร์ส
และเทศนาโดย จอห์น ซามูเอล คากน
ณ คริสตจักรแบ๊บติสต์เทเบอร์นาเคล นครลอสแอนเจลิส
วันของพระเป็นเจ้า ตุลาคม 15, 2012
A sermon written by Dr. R. L. Hymers, Jr.
and preached by Mr. John Samuel Cagan

“แต่เมื่อบุตรมนุษย์มา ท่านจะพบความเชื่อ ในแผ่นดินโลกหรือ”? (ลูกา 18:8)

(มัทธิว 16:18; I เทสะโลนิกา 4:16-17; วิวรณ์ 7:9, 14)

I.   ประการที่หนึ่ง ความสำคัญของความอดทนต่อการอธิษฐาน ลูกา 18:8

II.  ประการที่สอง ความสำคัญของกลุ่มประชุมอธิษฐาน, มัทธิว 18:19-20

III. ประการที่สาม ความสำคัญของ “การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” กิจการ 1:14