Print Sermon

เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์

ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร

ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net




การทนทุกข์ของพระคริสต์ – จริงและเท็จ

(บทเทศนาตอนที่ 5 พระธรรมอิสยาห์)
CHRIST’S SUFFERING – THE TRUE AND THE FALSE
(SERMON NUMBER 5 ON ISAIAH 53)
(Thai)

โดย ดร. อาร์ เอล์ ไฮเมอร์ส จูเนียร์
by Dr. R. L. Hymers, Jr.

เทศนาในตอนเย็นวันเสาร์ของวันที่ 17 เดือน มีนาคม ค.ศ. 2013 ณ
คริสตจักรแบ๊บติสต์แห่งนครลอสแอนเจลิส
A sermon preached at the Baptist Tabernacle of Los Angeles
Lord’s Day Morning, March 17, 2013

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ” (อิสยาห์ 53:4)


พระเยซูทรงกล่าวว่า “ท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบโรคของเราไป” ซึ่งถูกนำมากล่าวไว้ในพระธรรมมัทธิว 8:17

“ทั้งนี้เพื่อจะให้สำเร็จตามพระวจนะโดยอิสยาห์ศาสดาพยากรณ์ที่ว่า ท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบโรคของเราไป” (มัทธิว 8:17)

มัทธิว 8:17 ไม่ใช่เป็นการกล่าวอ้างอิงถึงอิสยาห์ 53:4 เท่านั้น แต่ยิ่งกว่านั้นคือการนำมาประยุกต์ใช้ ดร. เอ็ดเวิร์ด เจ ยัง กล่าวว่า “การอ้างอิงในพระธรรมมัทธิวนั้นสำคัญมาก โรคภัยที่กล่าวถึงนี้ก็คือบาปนั่นเอง ข้อนี้ยังกล่าวถึงผลของบาปด้วย โรคภัยไม่อาจแยกออกจากบาป” (Edward J. Young, Ph.D., The Book of Isaiah, William B. Eerdmans Publishing Company, volume 3, p. 345).

การทรงไถ่ที่กล่าววไว้ในพระธรรมมัทธิวนั้น ถ้าประยุกต์ใช้นั่นคือการรักษาโรคนั่นเอง โปรดจำไว้ว่ามัทธิวเท่านั้นที่กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่นั่นไม่ใช่จุดสำคัญที่เราจะกล่าวถึง ศาสตราจารย์ “Hengstenberg กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้รับใช้ [พระคริสต์] ทรงแบกบาป คือโรคภัยไข้เจ็บของเราทั้งหลาย ซึ่งมัทธิวกล่าวถึง [อิสยาห์ 53:4]…ว่าพระคริสต์ทรงปบกโรคภัยของเรา” (quoted in Young, ibid., page 345, footnote 13).

ในพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์สามารถรักษาโรคร้ายได้ และนี่ก็พิสูนจ์ว่าพระองค์ทรงสามารถรักษาจิตวิญญาณด้วย นั่นคือรักษาคนที่กลับใจใหม่ และนี่สามารถเห็นได้จากการที่คนโรคเรื้อนร้องขอความช่วยเหลือ โดยกล่าวว่า “อาจารย์โปรดเมตตาพวกเราด้วย” (ลูกา 17:13) พระเยซูทรงส่งพวกเขาให้ไปแสดงให้พวกปุโรหิตที่พระวิหารทราบว่าพวกเขาหายแล้ว และ “ตอนที่พวกเขาไปนั้นทุกคนก็หายเป็นปกติ” (ลูกา 17:14) ร่ายกายของพวกเขาได้รับการชำระด้วยฤทธิ์เดชของพระคริสต์ ตาพวกเขายังไม่ได้รับความรอด นอกจากมัเพียงแค่คนเดียวที่หันกลับมา บาปของเขาจึงได้รับการักษาจากการที่เขากลับใจใหม่ตอนที่กลับมาหาพระคริสต์ “และกราบลงที่พระบาทของพระองค์ ขอบพระคุณพระองค์ คนนั้นเป็นชาวสะมาเรีย” (ลูกา 17:16) แล้วพระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงลุกขึ้นไปเถิด ความเชื่อของเจ้าได้กระทำให้ตัวเจ้าหายปกติ” (ลูกา 17:19) ตอนนั้นเขาจึงได้รับการรักษาในฝ่ายจิตวิญญาณ พร้อมกับฝ่ายร่ายกาย เราพบว่าพระองค์ทำการอัศจรรย์อยู่หลายครั้ง เช่นรักษาคนตาบอดตามที่ปรากฏในพระธรรมยอห์นบทที่เก้า ชายตาบอดคนแรกที่ได้รักการรักษา ตาเขาก็เข้าว่าพระองค์เป็นเพียงแค่ผู้เผยพระวัจนะคนหนึ่งเท่านั้น (ยอห์น 9:17) หลังจากเขาก็กล่าวว่า

“พระองค์เจ้าข้า ข้าพระองค์เชื่อ แล้วเขาก็นมัสการพระองค์”
           (ยอห์น 9:38)

นี่คือทางเดียวที่ชายคนนั้นรอด

ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าการรักษาฝ่ายร่างกายนั้นคืออันดับสอง และจุดสำคัญที่กล่าวไว้ในอิสยาห์ 53:4 คือฝ่ายวิญญาณ ดร. เจ เวอเนอร์ เมคกี กล่าวว่า

พระธรรมอิสยาห์บอกไว้อย่างชัดเจนว่าเราได้รับการักษาจากการที่เราได้ละเมิด และชั่วช้า [อิสยาห์ 53:5] คุณบอกฉันว่า “คุณมั่นใจอย่างนั้นหรือ?” ผมรู้ว่านี่คือสิ่งที่ข้อกล่าวเอาไว้เพราะเปโตรก็กล่าวว่า “พระองค์เองได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ที่ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลายซึ่งตายจากบาปแล้ว จะได้ดำเนินชีวิตตามความชอบธรรม ด้วยรอยเฆี่ยนของพระองค์ ท่านทั้งหลายจึงได้รับการรักษาให้หาย” (1 เปโตร 2:24) ทรงรักษาอะไร? “ความบาป” เปโตรบอกไว้อย่างชัดเจาว่าท่านกล่าวถึง “บาป” (McGee, เล่มเดียวกัน หน้า 49)

และคำอธิบายในข้อนี้สามารถช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ” (อิสยาห์ 53:4)

ข้อนี้สามารถแยกออกเป็นสองข้อด้วยกัน (1) เหตุผลที่แท้จริงที่พระองค์ต้องทนทุกข์ ถูกกล่าวในพระคัมภีร์ และ (2) เหตุผลเท็จที่คนตาบอดเชื่อกัน

I. หนึ่ง เหตุผลที่แท้จริงที่พระองค์ต้องทนทุกข์ ถูกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย….”
       (อิสยาห์ 53:4).

คำว่า “แน่นอน” เป็นการเปรียบเทียบความจริงที่กล่าวถึงการทนทุกข์ของพระคริสต์และเหตุผลเท็จที่คนตาบอดเชื่อ “แน่นอน” กับคำกล่าวนี้ “แล้ว กับคำพูดเท็จ”

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป” (อิสยาห์ 53:4)

และคำว่า “ทนทุกข์” ต้องเข้าใจว่า ในภาษาฮีบรูคำว่า “ทนทุกข์” หมายถึง “โรคต่างๆ” ใช้ในความหมายคล้ายในพระธรรมอิสยาห์ 1:5-6 คือ "บาป” และก็คือ “บาป” ที่เรากำลังกล่าวนี้ “ความระทมทุกข์” เป็นการกล่าวถึงโรคแห่งบาป คำว่า “เศร้าโศก” เป็นการกล่าวถึงความรู้สึกแห่งความเจ็บปวด หรือความปวดร้าว” นั่น “คือการกล่าวถึงโรคแห่ง” บาป คำว่า “เศร้าโศก” เป็นการกล่าวถึงความรู้สึกแห่งความเจ็บปวด และหมายความว่า – บาปคือโรคและความทุกข์ต่างๆ และคำว่า “หอบ” หมายถึง “แบกรับ” แต่ก็มีความหมายมากกว่านั้น [แบกรับ] ไป หลังจากนั้นรับการแบกขึ้นไปและแบกไป” (Young, เล่มเดียวกัน หน้า 345) พระเยซูทรงแบกบาปของมนุษย์แต่เพียงผู้เดียว และแบกบาปนั้นออกไป เหมือนอย่างที่พระองค์ทรงแบกไม้กางเขนไปที่โกลาโกธา นั่นคือพระองค์ทรงแบกบาปของคนที่กลับใจไปทิ้ง นั่นคือสิ่งที่เปโตรกล่าวเอาไว้ ตอนที่ท่านกล่าวถึงพระคริสต์

“พระองค์เองได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ที่ต้นไม้”
        (I เปโตร 2:24)

ตามที่หนังสืออรรถิบายพระคัมภีร์ของ Keil และ Delitzsch กล่าวว่า

ความหมายที่แท้จริงนั้นนอกจาก [พระคริสต์] จะเสด็จมาร่วมทุกข์กับพวกเราตัว ตัวพระองค์เองยังต้องทนทุกข์ด้วย ไม่เฉพาะกำจัดความทุกข์นั้นออกไป…แต่ต้องใช้ [พระวรกาย] ของพระองค์แบกมันด้วย เพื่อจะได้ช่วยกู้เราให้พ้นจากมัน แต่เวลาที่คนๆหนึ่งต้องมาแบกความทุกข์ของคนอื่น คนเหล่านั้นไม่ได้ทำร่วมกับพระองค์ แต่พระองค์กลับทำแทนเราทั้งหลาย (Franz Delitzsch, Th.D., Commentary on the Old Testament in Ten Volumes, William B. Eerdmans Publishing Company, 1973 reprint, volume VII, p. 316).

พระคริสต์ทรงแบกบาปของเรา และนำมันไปทิ้ง จากภูเขาโกละธา ไปที่กางเขน และทรงไถ่ค่าบาปของเราทั้งหลาย “นี่คือการกระทำแทน”!!! “ทรงแบกความอับอาย และการถูกเยาะเย้ย” ร้องเพลงนี้!

ทรงแบกความอับอาย และถูกเยาะเย้ย
พระองค์สิ้นพระชนม์แทนที่ของฉัน
ตราแห่งการให้อภัยคือพระโลหิตของพระองค์
ฮาเลลูยา! แด่พระผู้ไถ่!
   (“Hallelujah! What a Saviour!” by Philip P. Bliss, 1838-1876).

“แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความละเมิดของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความชั่วช้าของเรา” (อิสยาห์ 53:5)

“พระคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลาย”
      (1 โครินธ์ 15:3).

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย…”
       (อิสยาห์ 53:4).

ดร. W. A. Criswell กล่าวว่า

การสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์บนไม้กางเขนนั้นก็เพราะผลของบาปของเรา ผู้ที่ฆ่าพระองค์ใช่หรือไม่? ผู้ที่ทำการร้ายตอพระองค์ผู้ทรงราศี? คือผู้ที่ตอกตะปูลงบนพระองค์และทำให้พระองค์ต้องทนทุกข์และสิ้นพระชนม์? ผู้ที่ทำชั่ว?...สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำของเราทั้งสิ้น ความบาปของฉันตกที่ไหล่ของพระองค์และมุงกุฏหนาม บาปของฉันอยู่ที่ตะปูที่ตอกฝ่ามือของพระองค์ บาปของฉันคือดาบที่แทนลงไปที่หัวใจของพระองค์ บาปของฉันตอกพระองค์ไว้บนไม้กางเขน นั่นคือ…ความหมายของการสิ้นพระชนม์ของพระซู(W. A. Criswell, Ph.D., “The Blood of the Cross,” Messages From My Heart, REL Publications, 1994, pages 510-511).

“พระคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลาย”
       (1 โครินธ์ 15:3).

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย…”
       (อิสยาห์ 53:4).

“ทรงแบกความอับอาย และการถูกเยาะเย้ย” ร้องอีกคั้งหนึ่ง!

ทรงแบกความอับอาย และถูกเยาะเย้ย
พระองค์สิ้นพระชนม์แทนที่ของฉัน
ตราแห่งการให้อภัยคือพระโลหิตของพระองค์
ฮาเลลูยา! แด่พระผู้ไถ่!

นั่นคือเหตุผลที่แท้จริงแห่งการทนทุกข์ของพระคริสต์ – ไถ่ค่าบาปของคุณ! แต่มนุษยชาติต่างก็ตาบอดและทรยศ บิดเบือนความจริงแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์! และนำเราเข้าไปสู่ในข้อที่สอง

II. สอง เหตุเท็จของคนตาบอดที่พูดถึงการทนทุกข์ของพระคริสต์

ดูที่พระคัมภีร์ของเราอีกครั้งหนึ่ง ยืนขึ้นและอ่านเสียงดังๆ

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ” (อิสยาห์ 53:4)

นั่งลงได้

“ใช่เราไม่ให้เกียรติพระเจ้าและมรมาณพระองค์” “เรา“ ลูกหลานของอาดาม ตาบอดเพราะมารซาตาน เรามองไม่ออกว่าพระคริสต์ทรงทนทุกข์นั่นก็เพื่อแทนเรา นั่นคือพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์แทนที่ของเราและเพื่อเรา เรา กลับคิดว่าพระองค์คือคนจนที่โง่คนหนึ่ง หรือบ้าและไร้สติ หรือเหมือนอย่างที่พวกฟาริสีพูดว่า “ถูกผีเข้า” พวกเขาคือคนที่ทำให้พระองค์ต้องทนทุกข์โดยการคุยโวและเพ้อเจ้อกับสิ่งที่ตนคิด เหมือนอย่างเพื่อนๆของโยบ เราคิดว่านั่นเป็นเพราะบาปของพระองค์ที่ทำให้พระองค์ต้องพบอย่างนั้น เราคิดว่าการสิ้นพระชนม์ของพระองค์นั้นช่างเป็นการตายที่ไร้ค่าจริงๆ ไม่ว่าจะสักกี่ครั้งก็ตาม พวกเราส่วนมากคิดว่าพระองค์คือพวกหัวรุนแรง พวกเราต่างถูกความควบคุมโดยความคิดที่ว่าพระองค์คือผู้ก่อตั้งศาสนาและนั่นคือคือจุดจบของพระองค์

เสียพระทัย? ใช่เรารู้ว่าพระองค์เสียพระทัย! ถูกตีด้วยอะไรบางอย่าง! ถูกตี? ใช่เรารู้ว่าพระองค์ถูกเฆี่ยนตี! เดือดร้อน? ใช่เรารู้อย่างนั้นด้วย! เรารู้ว่าเขาตบพระพักต์ของพระองค์ เรารู้ว่าเขาเฆี่ยนพระองค์ด้วยแส้ เรารู้ว่าพระองค์ทรงถูกตึงที่กางเขน! เกือบทุกคนรู้เรื่องจริงนี้! แต่เราก็ตีความหมายผิดเพี้ยงไป เราเข้าใจพระองค์ผิด เราไม่รู้ว่านั่นควรจะเป็นความทุกข์ของเรา ความโศกเศ้ราของเรา! ตอนที่ใจของเราเห็นพระองค์ถูกตรึงที่กางเขน เราคิดว่าพระองค์ถูกลงโทษเพราะสิ่งที่พระองค์ทรยศและทำผิด

“แต่ไม่! นั่นเป็นเพราะการล่วงละเมิดของเรา เพราะความชั่วของเรา และการที่เราจะมีสันติสุข [กับพระเจ้า] [บาป] ของเราต้องได้รับการรักษาก่อน ความจริงคือเราเดินตามทางของเรา และการลงโทษของ [พระเจ้า] ตกลงที่พระองค์เพื่อคนที่ไม่มีบาปทั้งหลาย” (William MacDonald, Believer’s Bible Commentary, Thomas Nelson Publishers, 1995, p. 979).

ความผิดของเราพระองค์จึงได้ประทานสันติสุข
ทรงรักษาบาดแผลของเราให้หายดี
ด้วยกายของพระองค์ที่ถูกฉีก ที่ถูกฉีก
   (“He Was Wounded” by Thomas O. Chisholm, 1866-1960)

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้น เราทั้งหลาย ก็ยังถือ ว่าท่าน ถูกคือ พระเจ้า ทรง โบยตี และข่มใจ” (อิสยาห์ 53:4)

คุณกรีฟฟี่กรุณาร้องเพลงท่อนนั่น

นั่นคือความจริงให้คุณหรือเปล่า? หรือคุณคิดว่าพระคริสต์สิ้นพระชนม์ด้วยเหตุผลอื่นมากกว่าแบกบาปของคุณ? ตอนนี้ให้รู้ว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์แทนที่ของคุณเพื่อชำระบาปนั้นออก คุณจะวางใจในพระองค์ด้วยความเชื่ออย่างง่ายนี้หรือเปล่า? คุณเชื่อพระบุตรของพระเจ้าและรับการชำระบาปโดยพระโลหิตของพระองค์หรือไม่?

ผมอยากให้คุณเอาความคิดชั่วต่างที่คิดพระองค์ไปในทางที่ผิด คแล้วคุณจะสามมรถรู้ความจริงนี้ถึงการสิ้นพระชนม์ พระองค์สิ้นพระชนม์เพราะบาปของคุณ พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย ตอนนี้พระองค์พระองค์ประทับเบื้องพระหัตถ์ของพระเจ้าบนสวรรค์ ผมขอให้คุณวางใจในพระองค์และคุณจะได้รับการช่วยกู้จากบาป

แต่มันไม่เพียงพอถึงการที่จะรู้จักกับพระคริสต์ และคุณก็สามารถรู้จักกับพระองค์ในขณะที่คุณยังไม่เป็นคริสเตียน คุณสามารถรู้ถึงความจริงเกี่ยวกับพระองค์ที่สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน คุณสามารถรู้ได้ว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในที่ของคนบาป และคนเหล่านั้นก็ยังไม่กลับใจด้วย คุณต้องวางใจพระคริสต์ผู้เป็นขึ้นมาจากความตาย คุณต้องวางใจและจำนนต่อพระองค์ พระองค์คืนหนทางแห่งความรอด พระองค์คือประตูแห่งชีวิตนิรันดร์ จงวางใจพระองค์เดี่ยวนี้ แล้วบาปของคุณจะได้รับการให้อภัย ท่านกรีฟฟี่จะร้องเพลงนี้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าคุณอยากคุยกับเราถึงความรอดของคุณ กรุณาเดินออกไปข้างหลังของห้องนี้ในขณะที่เขายังร้องอยู่

ความผิดของเราพระองค์จึงได้ประทานสันติสุข
ทรงรักษาบาดแผลของเราให้หายดี
ด้วยที่พระกายของพระองค์ถูกฉีก
เพื่อวิญญาณของเราจะได้รับการักษา

ดร. ชานกรุณานำเราอธิษฐานเผื่อคนที่ตอบสนองนี้ด้วย

(จบการเทศนา)
คุณสามารถอ่านบทเทศนาของ ดร. ฮิวเมอร์ ได้ในแต่ละอาทิตย์ทางอินเตอร์เนทได้ที่
www.realconversion.com. (กดที่นี่) “บทเทศนาในภาษาไทย”

คุณสามารถส่งอีเมล์ถึง ดร. ไฮเมอร์ส ที่ rlhymersjr@sbcglobal.net
– หรือเขียนจดหมายส่งไปให้เขาที่ P.O. Box 15308, Los Angeles, CA 90015.
หรือโทรศัพท์ถึงเขาที (818) 352-0452.

อ่านพระคัมภีร์ก่อนเทศนาโดยศิษยาภิบาล: 1 เปโตร 2:21-25
ร้องเพลงเดี่ยวพิเศษโดย มร. เบนจามิน คินเคด กริฟฟิท์:
“He Was Wounded” (by Thomas O. Chisholm, 1866-1960;
to the tune “Oak Park”).


โครงร่างของ

การทนทุกข์ของพระคริสต์ – จริงและเท็จ

(บทเทศนาตอนที่ 5 พระธรรมอิสยาห์)

โดย ดร. อาร์ เอล์ ไฮเมอร์ส จูเนียร์

“แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ” (อิสยาห์ 53:4)

(มัทธิว 8:17; ลูกา 17:13, 14, 16, 19;
ยอห์น 9:17, 38; I เปโตร 2:24)

I.   หนึ่ง เหตุผลที่แท้จริงที่พระองค์ต้องทนทุกข์ ถูกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ อิสยาห์ 53:4ก, 5; 1 โครินต์ 15:3.

II.  สอง เหตุเท็จของคนตาบอดที่พูดถึงการทนทุกข์ของพระคริสต์ อิสยาห์ 53:4ข.