Print Sermon

เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์

ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร

ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net




การทนทุกข์และการครอบครอง

SUFFERING AND REIGNING
(Thai)

โดย ดร. อาร์ เอล์ ไฮเมอร์ส จูเนียร์
by Dr. R. L. Hymers, Jr.

เทศนาในตอนเช้าวันของพระเป็นเจ้าที่ 29 เดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ณ
คริสตจักรแบ๊บติสต์แห่งนครลอสแอนเจลิส
A sermon preached at the Baptist Tabernacle of Los Angeles
Lord’s Day Morning, September 29, 2013

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)


อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ผมนั่งเขียนบทเทศนานี้ ผมก็ค้นพบคำว่า “ความทุกข์ทรมาน” นักแปลพระคัมภีร์สมัยนี้แปลว่า “อดทน” แต่พระคัมภีร์ฉบับเจนีวาปี 1599 และคิงเจมส์ปี 1611 แปลว่า “ความทุกข์ทรมาน” หรือ “อดทน” ซึ่งอาจใช้คำไหนก็ได้

แต่เราควรมาพิจารณาในเนื้อหานี้ ในข้อที่ 11 และ 12 อาจารย์เปาโลบอกว่าคริสเตียนเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ ในข้อที่ 11 ท่านกล่าวเอาไว้ดังนี้ว่า “คือถ้าเราตายกับพระองค์ เราก็จะมีชีวิตอยู่กับพระองค์เช่นกัน” การทนทุกข์ของคริสเตียนในที่นี้จึงหมายถึงการละทิ้งโลกนี้และตายต่อบาปและตัวเอง ดังนั้นในข้อที่ 11 จึงกล่าวถึงการเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์โดยทางการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ (เช่น โรม 6:1-3) แล้วในข้อที่ 12 ก็กล่าวถึงการเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์โดย “การทนทุกข์” ร่วมกับพระองค์ ดังนั้น “การทนทุกข์ทรมาณ” จึงเป็นคำที่ใช้ได้ถูกต้องตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ฉบับเจนีวาและคิงเจมส์ และสองฉบับก็น่าเชื่อถือ เพราะว่าผู้แปลเป็นนักวิชาการชาวอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษากรีกเป็นอย่างดี พวกเขารู้ว่าในบทที่สองทั้งหมดนั้นนำเราให้เข้าใจถึง “การทนทุกข์” ไม่ใช่เพียงแต่ “ต้องอดทน” เท่านั้น พระธรรมบทนี้แสดงให้เราเห็นภาพของคริสเตียนที่แท้จริงว่าเป็นเหมือนทหาร

“จงสัตย์ซื่อที่จะพูดว่า: ถึงกระนั้นก็ตามเราจะตายพร้อมกับพระองค์ เราจะมีชีวิตอยู่กับพระองค์: ถ้าเรายอมทนทุกข์เราก็จะครอบครองร่วมกับพระองค์…”

ถ้าเราเข้าร่วมการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ เราจะมีชีวิตอยู่กับพระองค์ เราเข้าร่วมทนทุกข์กับพระองค์ เราก็จะครอบครองร่วมกับพระองค์! ไม่เห็นจะยากเลย! แต่ทำไมคนในสมัยนี้ถึงต้องรเปลี่ยนคำว่า “ทนทุกข์” ไปเป็น “อดทน?” คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการชาวกรีกถึงจะมาเข้าใจข้อความนี้! แต่คนในสมัยนั้น ไม่ ชอบ การ ทนทุกข์ทรมาณ! พวกเขาจึงพยายามเบี่ยงเบนความจริงเพื่อความพึงพอใจของพวกอีเวนเจลีคอล์ นั่นง่ายมาก!

คนในสมัยก่อนสรรหาคำ เพื่อนำมาใช้เขียนพระคัมภีร์ ล้วนแต่ใช้คำที่มีความหมายมากกว่าพวกอนุรักษ์นิยมในสมัยนี้ พวกเขาจึงแปลพระธรรม 8:17 ว่า

“…เมื่อเราทั้งหลายทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์นั้น ก็เพื่อเราทั้งหลายจะได้สง่าราศีด้วยกันกับพระองค์ด้วย” (KJV)

และฉบับ NIV กล่าวว่า

“…แน่นอนถ้าร่วมทุกข์กับพระองค์ เราก็จะมีส่วนในสง่าราศีของพระองค์” (NIV)

คำว่า “ทนทุกข์” ในพระธรรมโรม 8:17 นั้นหมายความว่า “รับเอาประสบการณ์แห่งความเจ็บปวด” “ทนทุกข์ร่วมกับ” พระธรรมตอนนี้มีคนใช้ทั้งคำ ทนทุกข์ และ อดทน คนสมัยก่อนแปลพระธรรมโรม 8:17 และต่อมาลูเธอร์เรียกว่า “ข้อเปรียบเทียบของพระคัมภีร์”

เหตุผลที่แท้จริงที่นักแปลพระคัมภีร์สมัยนี้แปลเป็นอย่างอื่น เพราะพวกเขารู้ว่าผู้อ่านสมัยนี้ไม่อยากพบกับความทุกข์ ดังนั้นพวกเขาจึงใช้คำนุ่มนวมเพื่อต่อสนองความต้องการคนที่อ่อนแออย่างพวกอีเจนเจลีคอล์ในทุกวันนี้! ผมมักจะพูดว่า พระคัมภีร์ฉบับคิงเจมส์นั้นแปลได้ดีมากและทันสมัยที่สุดแล้ว

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

ในพระธรรมโรม 8:17 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าคริสเตียนที่แท้จริงคือ "ทายาทที่ร่วมกับพระคริสต์ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน ก็เพื่อเราทั้งหลายจะได้สง่าราศีด้วยกันกับพระองค์ด้วย” (โรม 8:17)

I. หนึ่ง “ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย

ดร. เจ เวอเนอร์ แมคกี้ กล่าวได้อย่างชัดเจนว่า

      "ถ้าเราต้องทนทุกข์ทรมานเราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์"...ผมเชื่อว่าพระธรรมข้อนี้แคบลงไปอยู่ที่ผู้ที่ได้รับความทุกข์เพื่อพระองค์...ในสมัยจักรวรรดิโรมันและตรงกับยุคของอารจารย์เปาโลนั้นมีคริสเตียนจำนวนมากที่ยอมพลีชีพ – ตามแบบสำรวจของฟอกซ์ จำนวนทั้งหมดคือห้าล้าน – เพราะพวกเขาไม่ยอมที่จะปฏิเสธพระคริสต์


      "ถ้าเราปฏิเสธพระเยซู พระองค์ก็จะปฏิเสธเรา" นี่เป็นการใช้ภาษาที่รุนแรงมาก ซึ่งเป็นการเผยให้เห็นถึงการที่เปาโลบอกว่าความเชื่อที่ไม่มีการประพฤติตามนั้นถือว่าตายแล้ว (ยากอบ 2:17) คุณจะเห็นว่าเปาโลและยากอบกล่าวมานั้นไม่ได้ขัดแย้งกัน ยากอบพูดเกี่ยวกับผลงานของความเชื่อและเปาโลบอกว่าความเชื่อแท้นั้นจะแสดงออกมาเป็นการกระทำ (J. Vernon McGee, Th.D., พระคัมภีร์ที่แท้จริง Thomas Nelson พิมพ์ออก, 1983, ฉับบ 5 หน้า 466; จาก 2 ทิโมธี 2:12)

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

คริสตจักรในยุคต้นๆ คนทั้งหมดถูกสอนว่าพวกเขาจะต้องผ่านการทดลองและความทุกข์ทรมาน เราสามารถดูได้ในพระธรรมกิจการ 14:22 เปาโลและบาร์นาบัสอยู่ที่เมืองลิสตราและอันทิโอช

“กระทำให้ใจของสาวกทั้งหลายถือมั่นขึ้น เตือนเขาให้ดำรงอยู่ในความเชื่อ และสอนว่า เราทั้งหลายจำต้องทนความยากลำบากมากจนกว่าจะได้เข้าในอาณาจักรของพระเจ้า” (กิจการ 14:22)

"เราต้องผ่านความยากลำบากถึงจะเข้าไปในอาณาจักรของพระเจ้าได้" คำภาษากรีกแปลว่า "กลียุค" คือ "thlipsis." นั่นหมายถึง "ความกดดัน ปัญหาความทุกข์ยาก" (Strong)

คริสเตียนในยุคแรกๆนั้นถูกสอนจนสามารถที่จะ "คว่ำโลกนี้ได้" (กิจการ 17:06) เพราะพวกเขาได้รับการสอนว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จะปฏิเสธตัวเองและรับกางเขนของตนแบกในทุกวัน อย่างที่พระคริสต์ตรัสให้กับ “ทุกคนว่า”

“ถ้าผู้ใดใคร่จะตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบกทุกวัน และตามเรามา” (ลูกา 9:23)

“กระทำให้ใจของสาวกทั้งหลายนั้นเชื่อมั่นขึ้น เตือนพวกเขาให้ดำรงอยู่ในความเชื่อ และสอนว่าเราทั้งหลายจำต้องทนความยากลำบากมาก จนกว่าจะได้เข้าในอาณาจักรของพระเจ้า” (กิจการ 14:22)

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

ในบทเทศนาของเขาชื่อว่า "ทนความทุกข์ทรมานและครองร่วมกับพระเยซู" สเปอร์เจียน "เจ้าชายแห่งนักเทศน์" กล่าวว่า

      เมื่อมาร์คัส อาเรทูซัส (362 AD) ได้รับคำสั่งจากจูเลียนซึ่งเป็นพวกนอกรีต ให้ [ถวายเงินสำหรับ] บูรณะสร้างโบถส์ที่คนของพวกเขาได้ทำลายลง เหุตเพราะพวกคนเหล่านั้นกลับใจไปเป็นคริสเตียน เขาปฏิเสธที่จะทำตามและแม้ว่าเขาจะเป็นชายวัยกลางคนแล้วก็ตาม เขาก็ถูกถอดเสื้อผ้าจนเปลือยกายและเสื้อผ้าก็ถูกตัดขาดจนหมดด้วย [หอก] มีด แต่ชายชราคนนั้นยังคงยืนยันไม่ทำตาม ถ้าเขาให้แค่ [สองสามเหรียญ] เพื่อนำไปบูรณะอาคารที่เป็นของ [คนต่างชาติ] เขาก็จะเป็นอิสระทันที...[แต่] เขาไม่ทำตาม ร่างกายของเขาถูกทาด้วยน้ำผึ้งและบาดแผลของเขานั้น [ยัง] ก็มีเลือดไหลออกมา ผึ้งและตัวต่อเกาะตามตัวและต่อยเขาจนถึงตาย เขาสามารถตายได้แต่เขาไม่อาจที่จะปฏิเสธพระเจ้าของเขา อาเรทูซัสได้ไปมีความสุขอยู่กับพระเจ้า เพราะเขาผ่านความทุกข์ทรมาณอย่างแสนสาหัส (C. H. Spurgeon, “Suffering and Reigning with Jesus,” ทนความทุกข์ทรมานและครองร่วมกับพระองค์ เมโทรโพลิแทนพระธรรมาสน์ 1991 พิมพ์ใหม่ ฉบับ X, หน้า 11)

เราให้เกียรติให้กับผู้ชายที่มีชื่อว่า ริชาร์ด วูร์เบรนด์ (1909-2001) เขาทนทุกข์มรมาณในคุกของคอมมิวนิสต์ที่โรมาเนียถึง 14 ปี เราให้เกียรติแก่ซามูเอล แลมป์ (1924-2013) ซึ่งใช้เวลากว่า 20 ปีทำงานหนักในค่ายกักกันของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ประเทศจีน เราให้เกียรติให้กับ ทริช บอนโฮเฟอร์ (1906-1945) ผู้ที่ถูกแขวนคอด้วยสายเปียโนโดยพวกนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุเพราะท่านเทศนาต่อต้านฮิตเลอร์ เราให้เกียรติให้กับอีกหลายๆร้อยคนที่กำลังทุกข์ทรมานเพราะความเชื่อของตนที่มีในพระคริสต์ ที่อาศับอยู่ในดินแดนของชาวมุสลิมในเช้านี้ แต่กับคุณล่ะ? คุณกล้าที่จะสละเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเพื่อมานมัสการในทุกวันอาทิตย์หรือไม่? คุณกล้าที่จะเสียเวลาอันเล็กน้อยเพื่อไปเข้าร่วมการประชุมอธิษฐานและไปเผยแพร่พระกิตติคุณในทุกสัปดาห์หรือไม่?

ที่ทำงานของผมๆมีสำเนาเพลงนมัสการของแบ๊บติสต์ใต้ที่ถูกเขียนขึ้นในงานประชุมใหญ่ปี 1956 เมื่อย้อนกลับไป ณ เวลานนั้น ถือว่าคริสเตียนสมัยนั้นก็ยังไม่กล้าที่จะรับการทนทุกข์ ผมมองที่บทเพลงนมัสการของ เรจินัลด์ ฮีเบอร์ (1783-1826) ที่ชื่อว่า "พระบุตรของพระเจ้าไปทำสงคราม" ผมถึงกับตกใจเมื่อเห็นว่าคริสจักรแบ็บติสต์ใต้ได้เอาข้อที่กล่าวได้ดีที่สุดตอนหนึ่งตัดออกไปจากบทเพลงนั้น นี่คือข้อที่พวกเขาคัดทิ้งออกไป

วงดนตรีรุ่งโรจน์ที่ถูกเลือกมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์
   สิบสองธรรมิกชนผู้กล้าหาญ พวกเขารู้ถึงความหวังของพวกเขาถึงเย้ยหยันที่ไม้กางเขนและเปลวไฟ
   พวกเขาเผชิญกับกรงเหล็กที่เต็มไปด้วยสิงโตที่หิวโหย
พวกเขาก้มศีรษะลงพร้อมที่จะตาย: ใครล่ะจะเดินตามเส้นทางนั้น
   (“"พระบุตรของพระเจ้าไปทำสงคราม” โดย Reginald Heber, 1783-1826).

ข้อนี้คือข้อที่สามารถดึงดุดใจของคุณ! และสามารถใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวที่จะละทิ้งชีวิตตัวเอง และเป็นคริสเตียนที่เสียสละพร้อมที่จะออกไปประกาศ! หรือเป็นคนที่ยอมพรีชีพที่นี่! ทำไมในปี 1956 พวกเขาถึงเอาข้อนี้ตัดออกไป? ผมจะบอกคุณว่าทำไม! ผู้นำผู้หญิงบางคนที่สูงอายุรู้สึกหมางใจกับข้อนี้! เพราะพวกเขาไม่ต้องการคิดถึงเรื่อง "ไม้กางเขนและเปลวไฟ" พวกเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับภาพของ "กรงเหล็ก" พวกเขารู้สึกไม่ดีเมื่อได้ยินเสียงเตือนจาก "ฝูงสิงโตที่เต็มไปด้วยเลือด" หรือ ความจริงที่ว่าด้วยการพรีชีพ "ก้มศีรษะลงพร้อมที่จะตาย" มันมากเกินไปสำหรับพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงต้องเอาข้อนี้ตัดทิ้งออกไป สิ่งที่พวกเขามีคือความอัปยศทและความขี้ขลาด! คณะตนตรีของแบ็บติสต์ใต้ทำเรื่องที่น่าอายมาก สามารถทำลายบทเพลงที่เป็นพยานถึงผู้ยิ่งใหญ่ที่ยอมสละพรีชีพเพราะความเชื่อ! ขอให้เราอย่าได้อายที่จะร้องเพลงนี้ ขอให้เราอย่าได้อายที่อยู่อย่างนั้น! ซึ่งอยู่ในบทเพลงสุดท้ายในหนังสือเพลง ร้องด้วยกัน

วงดนตรีรุ่งโรจน์ที่ถูกเลือกมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์
   สิบสองธรรมิกชนผู้กล้าหาญ พวกเขารู้ถึงความหวังของพวกเขาและเย้ยหยันไม้กางเขนและเปลวไฟ
พวกเขาพบกับกรงเหล็กที่เต็มไปด้วยสิงโตที่หิวโหย
   พวกเขาก้มศีรษะลงพร้อมที่จะตาย: ใครจะเดินตามเส้นทางนั้น

กองทัพขุนนางผู้ชายและเด็กผู้หญิงและแม่บ้าน,
   ชื่นชมยินดีรอบบัลลังก์ของพระเจ้าและสวมเสื้อคลุมที่มีแสง
พวกเขาปีนขึ้นไปบนสวรรค์ผ่านทางที่อันตรายและเจ็บปวด
   โอพระเจ้าขอประทานพระคุณในทางที่เราเดินไป
(“"พระบุตรของพระเจ้าไปทำสงคราม” โดย Reginald Heber, 1783-1826).

พวกคุณนั่งลงได้

“พวกเขาปีนขึ้นไปบนสวรรค์ผ่านทางที่อันตรายและเจ็บปวด” ใช่! นั่นแหละคือความหมายที่อาจารย์เปาโลกล่าวเอาไว้

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

II. สอง “ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน”

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

พระเยซูทรงเตือนว่า

“แต่ผู้ใดจะปฏิเสธเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะปฏิเสธผู้นั้นต่อพระพักตร์พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ด้วย” (มัทธิว 10:33)

อัครทูตเปาโลกล่าวว่า " “ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย" นี่คือการปฏิเสธพระคริสต์ของพวกคริสเตียนเท็จตอนที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน เพื่อพิสูจน์ถึงการเป็นสาวกที่แท้จริง นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่เปรียบเหมือน "ดินที่แข็ง" ที่อธิบายไว้ในคำอุปมาของชายที่หว่านเมล็ดพืช

“ซึ่งตกที่หินนั้นได้แก่คนเหล่านั้นที่ได้ยินแล้วก็รับพระวจนะนั้นด้วยความปรีดี แต่ไม่มีราก เชื่อได้แต่ชั่วคราว เมื่อถูกทดลองเขาก็หลงเสียไป” (ลูกา 8:13)

ดร. ไรเนทเกอร์ บอกว่า “หลงหายไป” หมายถึง “หนีไป” หรือ “หนีออก” (Fritz Rienecker, Ph.D., ภาษาศาสตร์เพื่อพันธสัญญาใหม่เป็นภาษากรีก, โซนเดอร์แวน 1980 หน้า161; จาก ลุกา 8:13)

เมื่อ "การทดลองใจ" มาพวกเขามักจะหนีออกจากคริสตจักรท้องถิ่นของตน "เพราะไม่มีราก" หมายความว่าพวกเขาไม่เคย "หยั่งราก" ลงในพระคริสต์ ยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่เคยกลับใจใหม่อย่างแท้จริง มาระโก 4:17 ขยายข้อความดังนี้ว่า "เวลาของการทดลอง" ตามคำอุปมาหมายความเอาไว้

“เมื่อ เกิดการยากลำบากและ การข่มเหงต่าง ๆ เพราะพระวจนะนั้น…ก็เลิกเสียในทันทีทันใด[ตามรากศัพท์แท้คือ ‘หลงหายไป” NASV]

คนดังกล่าวจะถูกปฏิเสธโดยพระเยซูในวันแห่งการพิพากษา พระองค์จะพูดกับเขาว่า "เราไม่เคยรู้จักเจ้าออกไปจากเรา เจ้าคนชั่วช้าสามานย์" (มัทธิว 7:23)

คนอื่น ๆ ที่ปฏิเสธพระคริสต์แต่ยังเข้ากับคริสตจักรบางแห่ง พวกเขาคิดว่าพวกเขาอยู่สบายดีไร้ปัญหา แต่พวกเขาปฏิเสธพระคริสต์มีชีวิตที่โจมอยู่ในบาป คนเหล่านี้คือพวกของแอนตีโนเมียน ผมพูดเกี่ยวกับคนเหล่านี้ในบทเทศนาที่มีชื่อว่า "แอนตีโนเมียนนิยมในอิตาลี” หรือ “Antinomianism in Italy” (คลิกที่นี่เพื่อไปอ่าน) อัครทูตเปาโลอธิบายโดยคนเหล่านี้เอาไว้ในพระธรรมทิตัส 1:16

“เขาออกปากยอมรับว่าเขารู้จักพระเจ้า แต่ว่าในการกระทำของเขา เขาก็ปฏิเสธพระองค์ โดยการประพฤติตัวน่ารังเกียจ และไม่เชื่อฟัง และไม่เหมาะที่จะกระทำการดีใด ๆ เลย” (ทิตัส 1:16)

แอนตีโนเมียนนิยมเหล่านี้เคยได้เรียนรู้ถึงบางอย่างหลักคำสอนที่ถูกต้อง แต่พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าโดยวิถีทางการดำเนินชีวิต พระคัมภีร์ฉบับของพวกรีฟอร์ม กล่าวว่า "พันธสัญญาใหม่สอนว่าการขาดการกระทำที่สอดคล้องกับชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ความเชื่อของคนนั้นเป็นผู้ต้องที่น่าสงสัยให้กับพระคริสต์คริสต์...ทั้งหลักคำสอนและการกระทำที่สอดคล้องกับชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวคริสเตียน "(หมายเหตุดู ทิตัส 1:16) "การกระทำของพวกเขานั้นแสดงถึงการปฏิเสธพระองค์"

คนที่แปลบทเทศนาของเราเป็นภาษาลาวในหัวข้อ"แอนตีโนเมียนนิยมในอิตาลี”หรือ “Antinomianism in Italy” เขาเขียนจดหมายให้ผมและบอกว่า

มันเป็นเรื่องจริงที่หลายคนอ้างว่าพวกเขารอดแล้ว แต่ในชีวิตนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในประเทศลาวของเราและแม้แต่ในประเทศไทยคนมักจะอ้างว่าพวกเขาเป็นคริสเตียน แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายพระนามของพระเยซู เพราะพวกเขารักในการดื่ม เต้นรำ ขโมยและเป็นแบบอบ่างที่ไม่ดีให้กับเพื่อนบ้านของพวกเขา

เขาบอกว่านี่คือสาเหตุที่คนลาวไม่อยากเป็นคริสเตียน "แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือพวกเขากล่าวว่าไม่ต้องการที่จะเป็นเพื่อนกับ [คนเหล่านี้] คริสเตียน"

ดังนั้นเราจะเห็นผลที่น่ากลัวของพวกแอนตีโนเมียนนิยมในอิตาลี ลาว และ"แม้กระทั่งในประเทศไทย" เราแขวนศีรษะของเราด้วยความอัปยศเพราะเรารู้ว่ามุมมองที่ผิดเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่มาจากอเมริกาและเป็นการพยานถึงพระคริสต์ที่เหมือนสารพิษกระจายทั่วโลกในวันสุดท้ายนี้ พระเยซูให้คำทำนายนี้ว่า

“เพราะว่า [กรีก: อโนเมีย – ความรักของคนเป็นอันมากจะเยือกเย็นลง เพราะความชั่วช้าของ “แอนตีโนเมียนนิยม”] จะแผ่ [ขยาย] ออกไป” (มัทธิว 24:12)

นี่เป็นหนึ่งในหมายสำคัญที่แสดงมาถึงการเสด็จมาของพระคริสต์ แม้แต่พวกคริสตชนที่แท้จริงยังท้อแท้และความรักจืดจางไปเพราะมีพวก แอนตีโนเมียนนิยมจำนวนมากในยุคสุดท้ายนี้! แต่ที่นี่ไม่มีข้อผิดพลาด - แอนตีโนเมียนนิยมเหล่านี้ทำให้คนหลงหาย "ปฏิเสธพระองค์" โดยบาปในชีวิตของพวกเขา (ทิตัส 1:16)

คริสเตียนที่แท้จริงจะไม่ปฏิเสธพระคริสต์ นั่นคือสิ่งที่พระเยซูทรงหมายถึงเมื่อพระองค์ตรัสเอาไว้มัทธิว 24

“แต่ผู้ที่ทนได้จนถึงที่สุด ผู้นั้นจะรอด” (มัทธิว 24:13)

ทั้งๆที่ถูกเกลียด ทั้งๆที่มีการพยากรณ์เท็จทั้งๆที่มี "ความชั่วช้า" ความวุ่นวายของพวก แอนตีโนเมียนนิยม ที่ยอมรับว่าเป็นคริสเตียน แต่จริงๆไม่ใช่ คนที่กลับใจใหม่อย่างแท้จริงจะ "ทนจนถึงที่สุด" (มัทธิว 24:9 -13) อย่างที่บทเพลงนมัสการเก่าบทหนึ่งที่เขียนเอาไว้

ความมืดในกลางคืนคือบาปที่ต่อสู้เรา
   เราแบกภาระแห่งความเศร้าโศกเอาไว้
แต่ตอนนี้เราเห็นหมายสำคัญการเสด็จมาของพระองค์
   หัวใจของเราที่อยู่ภายในนั้นมีแต่ความชื่นชมยินดี
พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งจะเสด็จมาอีกครั้ง
   เช่นเดียวกันพระเยซูก็จะปฏิเสธชาวโลกทั้งหลาย
พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้งจะเสด็จมาอีกครั้ง
   ด้วยฤทธ์อำนาจและด้วยเกียรติที่ยิ่งใหญ่พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้ง!
(“พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้ง” โดย Mabel Johnston Camp, 1871-1937).

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

พระคริสต์พร้อมที่จะช่วยให้คุณให้รอดพ้นจากบาปของคุณ พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่ความผิดบาปของคุณ พระโลหิตของพระองค์หลั่งชำระบาปของคุณทั้งหมด พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตายเพื่อประทานชีวิตให้คุณ ผมขอท้าท้ายคุณหันหลังให้กับบาปของคุณ! จงกลับใจและไว้วางใจในพระเยซู พระองค์ทรงช่วยคุณให้รอดได้! พระองค์ทรงช่วยคุณให้รอด พระองค์ทรงช่วยคุณในเวลานี้!

เราพร้อมที่จะคุยกับคุณถึงเรื่องการทรงช่วยโดยพระเยซู ถ้าคุณอยากจะคุยกับเรา กรุณาลุกออกจากที่นั่งของคุณเดินออกไปข้างหลังของห้องนมัสการในเวลานี้ ดร. คาเกน จะพาพวกคุณไปยังห้องอธิษฐานเพื่อพูดคุย ดร. ชาน กรุณานำเราอธิษฐานเผื่อคนที่ตอบสนองรับเอาพระเยซูในค่ำคืนนี้ด้วย อาเมน!

(จบการเทศนา)
คุณสามารถอ่านบทเทศนาของ ดร. ฮิวเมอร์ ได้ในแต่ละอาทิตย์ทางอินเตอร์เนทได้ที่
www.realconversion.com. (กดที่นี่) “บทเทศนาในภาษาไทย”

คุณสามารถส่งอีเมล์ถึง ดร. ไฮเมอร์ส ที่ rlhymersjr@sbcglobal.net
– หรือเขียนจดหมายส่งไปให้เขาที่ P.O. Box 15308, Los Angeles, CA 90015.
หรือโทรศัพท์ถึงเขาที (818) 352-0452.

ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ไม่ได้สงวนมีลิขสิทธิ์ คุณสามารถนำไปใช้โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจาก ดร.
ไฮเมอร์ส แต่อย่างไรก็ตามข้อความทั้งหมดของ ดร.
ไฮเมอร์ส ที่อยู่ในรูปวิดีโอนั้นมีการสงวนลิขสิทธิ์และต้องได้รับการอนุญาตเท่านั้นถึงจะสามารถนำมาใช้ได้

อ่านพระคัมภีร์ก่อนเทศนาโดย อาเบล พลูโฮมมี: 2 ทิโมธี 2:3-12
ร้องเพลงเดี่ยวพิเศษโดย มร. เบนจามิน คินเคด กริฟฟิท์:
“พระบุตรของพระเจ้าไปทำสงคราม” (โดย Reginald Heber, 1783-1826)


โครงร่างของ

การทนทุกข์และการครอบครอง

โดย ดร. อาร์ เอล์ ไฮเมอร์ส จูเนียร์

“ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน” (2 ทิโมธี 2:12)

(2 ทิโมธี 2:11; โรม 8:17)

I.   หนึ่ง “ถ้าเราทนความทุกข์ทรมาน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ด้วย
ยากอบ 2:17; กิจการ 14:22; 17:6; ลูกา 9:23

II.  สอง “ถ้าเราปฏิเสธพระองค์ พระองค์ก็จะปฏิเสธเราเช่นเดียวกัน มัทธิว 10:33;
ลูกา 8:13; มาระโก 4:17; มัทธิว 7:23; ทิตัส 1:16 มัทธิว 24:12, 13