Print Sermon

เป้าหมายของเว็ปไซต์นี้คือจัดเตรียมบทเทศนาที่เขียนจากต้นฉบับ และในรูปแบบวีดีโอให้กับผู้รับใช้ และมิชชั่นนารีที่ไปรับใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สามที่ขาดแคลนพระคริสตธรรมหรือโรงเรียนอบรมพระคัมภีร์

ต้นฉบับของบทเทศนาเหล่านี้ถูกอ่านในคอมพิวเตอร์ประมาณ 1,500,000 เครื่อง และมากกว่า 221 ประเทศในแต่ละปี โปรดไปอ่านได้ที www.sermonsfortheworld.com ในขณะเดียวกันมีหลายร้อยคนดูวิดีโอบน YouTube และหลังจากนั้นคนเหล่านั้นก็จะย้ายจากดู YouTube มาอ่านเว็บไซต์ของเรา YouTube นำคนมาที่เว็บไซต์ของเรา บทเทศนาต้นฉบับนี้ถูกแปลออกเป็น 46 ภาษา และมีคนอ่านในคอมพิวเตอร์มากถึง 120,000 ทุก ๆ เดือน บทเทศนาต้นฉบับนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้นักเทศนาสามารถนำไปใช้เทศน์ได้ นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบวีดีโอเป็นร้อย ๆ ซึ่งเทศน์โดย ดร. ไฮเมอร์ส และนักศึกษาของท่าน บทเทศนาต้นฉบับไม่สงวน แต่จะสงวนเฉพาะในรูปแบบวีดีโอ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้ว่าจะสนับสนุนการประกาศพระกิตติคุณไปทั่วโลกได้อย่างไร

ตอนที่คุณเขียนหนังสือไปให้ ดร. ไฮเมอร์ส บอกท่านเสมอว่าคุณเขียนมาจากประเทศอะไร หรือท่านไม่ได้ตอบคุณ อีเมล์ของ ดร. ไฮเมอร์ส คือ rlhymersjr@sbcglobal.net




การละทิ้งความเชื่อ

THE APOSTASY
(Thai)

โดย ดร. อาร์ เอล์ ไฮเมอร์ส จูเนียร์
by Dr. R. L. Hymers, Jr.

เทศนาในเย็นวันเสาร์ของวันที่ 29 เดือน ธันวาคม ค.ศ. 2012 ณ คริสตจักร
แบ๊บติสต์แห่งนครลอสแอนเจลิส
A sermon preached at the Baptist Tabernacle of Los Angeles
Saturday Evening, December 29, 2012

“อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดล่อลวงท่านโดยทางหนึ่งทางใดเลย เพราะว่าวันนั้นจะไม่มาถึง เว้นแต่จะมีการล้มลงเสียก่อน และคนแห่งการบาปนั้นจะประจักษ์แจ้ง คือลูกแห่งความพินาศ” (2 เธสะโลนิกา 2:3)


“วันนั้น” กล่าวถึง “วันของพระเป็นเจ้า” ตามที่ปรากฏในขอที่สอง ชาวเธสะโลนิกาไม่ได้กังวลเรื่องการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ เพราะพวกเขารู้ว่าพระเยซูยังไม่เสด็จมา แต่พวกเขากังวลว่าส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเสด็จมาของพระคริสต์คือกลียุค เพราะประสบการณที่พวกเขาได้รับจากการถูกกดขี่ขมเหงโดยพวกโรมัน พวกเขาจึงคิดว่ากำลังเผชิญกลียุค จากพระธรรมในตอนนี้อาจารย์เปาโลอธิษบายว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในกลียุค มีอยู่สองอย่างที่เกิดขึ้น วิลเลียม แมคโดนอร์ด กล่าวไว้ว่า

      สิ่งแรกคือการสูญสลายไป หรือการละทิ้งความเชื่อไป
นั่นหมายถึงอะไร?...ผู้เชื่อจะละทิ้งความเชื่อ และกลับใช้เหตุผลมาอ้างโจมตีและต่อต้านความเชื่อ

      อำนาจของโลกนี้ก็จะปรากฏขึ้นมา ลักษณะของคนเหล่านั้นคือ “คนอธรรม” คือบุคคลที่เต็มด้วยบาปและทรยศต่อพระเจ้า (William Macdonald, Believer’s Bible Commentary, Thomas Nelson Publishers, 1995 edition, หน้า 2053; อ้างอิงถึง 2 เธสะโลนิกา 2:1-3).

“คนอธรรม” คือพวกที่ต่อต้านพระคริสต์ จอมเผด็จการแห่งโลกนี้ มีอยู่สองอย่างที่จะเกิดขึ้นก่อนถึงยุคแห่งกลียุคตามที่อาจารย์เปาโลได้บอกเอาไว้ – คนละทิ้งความเชื่อ และจะมีคนที่ต่อต้านพระคริสต์เกิดขึ้น เนื้อหาของผมในวันนี้จะมุ่งไปที่ประเด็นแรก – คนละทิ้งความเชื่อ วันของพระเป็นเจ้าจะยังไม่มา เว้นเสียแต่ “คนจะละทิ้งความเชื่อ” ดร. ดับบริว เอ คริสเวลล์ กล่าวเอาไว้ว่า

ประโยคที่ว่า “สูญหายไป” แปลว่า “ละทิ้งความเชื่อ” ตามภาษาอังกฤษใช้ [the] นำหน้า เพื่อเน้นว่าสิ่งที่อยู่ในใจของอาจารย์เปาโลนั้น คือพูดถึงคนที่ละทิ้งพระเจ้า ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อน “วันของพระเป็นเจ้า” ซึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดคือคนจะละทิ้งพระเจ้า (W. A. Criswell, Ph.D., The Criswell Study Bible, Thomas Nelson Publishers, 1979; อ้างจาก 2 เธสะโลนิกา 2:3).

ตามปฏิทีนของคริสเตียนแล้วจะพบว่ามีหลายเหตุการณ์ที่กล่าวถึงคนละทิ้งความเชื่อ หรือ การแตกแยก แต่เหตุการณเหล่านั้จะค่อยๆเกิดขึ้น จนถึง “คนมากมายได้ละทิ้งความเชื่อ” (MacDonald, เล่มเดียวกัน) จนกระทั่งถึงในยุคสมัยใหม่ ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าผู้เชื่อในคณะโปรเตสแตนต์มีคนละทิ้งพระเจ้ากันอย่างมากมาย และกลุ่มของเมสทอดิสต์ และลูเทอร์แลนด์ตามในสถาบันศึกษาพระคัมภีร์ หรือโรงเรียน กลุ่มที่มากที่สุดเห็นจะเป็นเพรสไปทีเรียน อีพีโคปาเรียนและแบ๊บติสต์ เพราะเรามีหลักฐานยืนยันจากหนังสือชื่อคนละทิ้งความเชื่อในทุกวันนี้ หรือ Today’s Apostasy (Hearthstone Publishing, 1999; second edition 2001). และก็ขยายไปยังโรแมนคาทอลิค แม้กระทั่งพระสันตะปะปาเองก็ยังหลงไปเชื่อตามทฤษฎีของชาล์ ดาวิน ดร. ฮารอลด์ ลินเซลล์ ในหนังสือของท่านที่กล่าวถึงบุคคลที่ละทิ้งความเชื่อชื่อว่า The Battle for the Bible (Zondervan, 1976). มีบางบทในหนังสือเล่มนี้ที่กล่าวถึงการปกป้องคนให้อย่าละทิ้งความเชื่อ

คณะลูเธอร์นเรนด์มิสซูรี,
กลุ่มแบ๊บติสต์ใต้
วิทยาลัยศาสนศาสตร์ฟุลเลอร์,
และอื่น ๆ ได้แก่ และกลุ่มคริสตจักรที่เรียกว่าพารา

ดร. เดวิด เอฟ เวลล์ เป็นอาจารย์สอนประวัตศาสตร์และศาสนศาสตร์ระบบที่พระคริสตธรรม Gordon-Conwell Theological Seminary, ท่านได้เขียนหนังสืออยู่หลายเล่มที่กล่าวถึงผู้เชื่อที่ละทิ้งความเชื่อจากการประกาศข่าวประเสริฐ ในหัวข้อที่เรียกว่า God in the Wasteland, Losing our Virtue, and No Place for Truth: or Whatever Happened to Evangelical Theology? ตามนิตยสาร Time เรียก หนังสื่อของดร. เดวิด ว่าความล้มเหลวของการประกาศด้านศาสนศาสตร์” หรือ “A stinging indictment of evangelicalism’s theological corruption.” ไม่มีที่ว่างสำหรับความจริง (Eerdmans, 1993) ดร. เวลล์ กล่าวว่า

เป็นเหมือนดั่งความจริงของคริสเตียนได้แตกสลายลง…ผลลัพธ์…คือ ยืดถือเรื่องการไม่มีพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยมต่างก็ลุ่มหลงไปตามนั้น ภาวะแห่งการไม่มีพระเจ้าเช่นนนี้ ลดหย่อนการนมัสการของคริสตจักรที่ให้อะไรไม่ได้เลยนอกเสียจากสร้างความรู้สึกดีจากศิษยาภิบาล…ไม่มีอะไรที่จะเป็นแบบมืออาชีพ…สิ่งที่ละไว้คือความรู้สึก…และต้องการฟังโดยที่ไม่ยอมรับการตีสอน และสนใจเรื่องความจริง การเห็นอกเห็นใจ เพียงเล็กน้อย แต่ไม่มีความเมตตากรุณาใช้เป็นหลักถูกต้อง (หน้า 248 และ 249)

ท่านยังกล่าวต่อว่า

กลุ่มอีเวนเจอรีคอร์ได้สูญเสียสิ่งดีในตัวเองเพราะการปล่อยตัวตามกระแสยุคสมัยใหม่ ช่างเศร้าใจมาก เพราะสูญเสียสิ่งที่ปฏิบัติการมาและความเชื่อในพระเจ้า…สิ่งที่คริสตจักรต้องการในเวลานี้ไม่ใช่การฟื้นฟูแต่กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ (เล่มเดียวกัน หน้า 295, 296).

ท่านกล่าวว่า ในคริสตจักรใหญ่ๆ และคริสตจักรที่เกิดใหม่ต่างก็ไปตามนั้น “คริสเตียนกลุ่มอนุรักษ์นิยม เด็กๆที่เกิดมาในกล่มเสรีนิยมเหล่านี้ต่างก็หลงหายไป ผมสงสัยว่าอาจจะเป็นเหมือนพวกที่ต่อต้านบรรพบุรุษของกลุ่มที่เรียกว่าผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (David F. Wells, Ph.D., The Courage to Be Protestant, Eerdmans Publishing Company, 2008, p. 2). ผมเห็นด้วยกับเขา ผมเชื่อว่าหลายคนได้หลงไปตามกลุ่มเสรีนิยม” ตัวอย่างเช่น รอเบลล์ ต่อต้านความเชื่อเรื่องนรก เริ่มจากหนังสือของ เฮ็นรี่ อีเมอร์สัน ฟ๊อสดิส หรือกลุ่มเสรีนิยมในอดิต และหนังสือของเบลล์ก็ได้รับการตอบรับจากผู้อำนวยการพระคริสตธรรมฟูเลอร์!

“อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดล่อลวงท่านโดยทางหนึ่งทางใดเลย เพราะว่าวันนั้นจะไม่มาถึง เว้นแต่จะมีการล้มลงเสียก่อน และคนแห่งการบาปนั้นจะประจักษ์แจ้ง คือลูกแห่งความพินาศ” (2 เธสะโลนิกา 2:3)

จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเราอยู่ในช่วงของผู้เชื่อที่กำลังละทิ้งความเชื่อจริงๆ!

สาเหตุของการทำให้คนละทิ้งความเชื่อนั้นมาจากที่ไหน? ดร. มาร์ติน ลอยด์ โจมส์ กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า

ผมไม่สงสัยเลยว่าสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อคริสเตียนในทุกวันนี้ และต่อโลก ผลที่ตามมา คือคนละทิ้งพระเจ้ากันอย่างมากมายในแต่ละปี (D. Martyn Lloyd-Jones, M.D., Revival, Crossway Books, 1987 edition, หน้า 55).

ดร. มาร์ติน ลอยด์ โจมส์ กล่าวไว้ช่วงต้นๆของปี 1970 ถ้าท่านพูดในทุกวันนี้ได้ท่านคงพูดว่า “การละทิ้งความเชื่อได้เพิ่มขึ้นมากมายในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา”

เราสามารถชี้ได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงคือเกิดขึ้นในยุคเรืองปัญญา ดร. ฟรานซิส เอ แชดเฟอร์ (1912-1984) ชี้ไปที่นักปราชญ์ของฝรั่งเสศ (1694-1778) ซึ่งเรียกกันว่า “บิดาแห่งยุคเรืองปัญญา” ดร. แชดเฟอร์ กล่าวว่า

ยูโตเปียนเคยฝันเอาไว้ว่ายุคเรืองปัญญานั้นทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับห้าคำนี้: เหตุผล ธรรมชาติ ความสุข ความก้าวหน้า และเสรีภาพ นี่คือความคิดตามอย่างชาวโลก (Francis A. Schaeffer, D.D., How Should We Then Live?, original copyright 1976; Crossway Books reprinted edition 2005, หน้า 121).

ยุคเรืองปัญญานี้มนุษย์คือจุดศูนย์กลาง พระเจ้าและพระคัมภีร์ถูกเก็บเอาไว้เป็นเบื้องหลัง

จากการที่เราได้ศึกษาเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อ มีสามบุคคลที่มีอิทธิพลในยุคเรืองปัญญานี้ คนแรกคือ โยฮันน์ เซมเลอร์ (1725-1791) ท่านเป็นนักศาสนศาสตร์ชาวเยอรมัน เขากล่าวว่า วิชาศาสนศาสตร์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อสอดคล้องกับวัฒนธรรมและสถานการณ์ ผลที่ตามมาคือ ท่านจึงบอกว่ามีหลายอย่างในพระคัมภีร์ที่ไม่ใช่เรื่องของการดลใจโดยพระเจ้า คุณค่าของพระคัมภีร์นั้นขึ้นอยู่การตัดสินของแต่ละบุคคล ดังนั้น เซ็มเลอร์ จึงใช้เหตุผลของมนุษย์อยู่เหนือสิ่งที่เปิดเผยในพระคัมภีร์ และเปิดโอกาสให้คนเข้ามาวิจารณ์พระคัมภีร์ และจึงเป็นเรื่องที่แพร่กระจายไปทั่วเยอรมันนีและในโลกยุคสมัยใหม่

คนที่สองที่มีส่วนสำคัญทำให้คนละทิ้งความเชื่อมีนามว่า ชาลล์ ดาวิน (1809-1882) ดาวินเรียนจบด้านศาสศาสตร์ แต่เขากลับทอดทิ้งความเชื่อเดิมตามอย่างที่ปรากฏในพระคัมภีร์ปฐมกาลเรื่องของการทรงสร้าง ท่านจึงสร้างทฤษฎีของตัวเองขึ้นมาพูดถึงเรื่องของสิ่งมีชีวิต ตามที่รู้ๆกันคือทฤษฎีแห่งการวิวัฒนการ ในหนังสือของเขาชื่อ จุดเริ่มแรกของสัตว์มีชีวิต หรือ The Origin of Species หลังจากนั้นเขาได้นำทฤษฎีนี้มาใช้ให้กับคนในปี 1871 ในหนังสือ เชื้อสายของมนุษย์ หรือ Descent of Man โทมัส ฮาสเลย์ (1829-1895) ได้ยกย่อมทฤษฎีของดาวินและต่อต้านคริสเตียน ดาวินและฮาสเลอร์ทำลายความเชื่อของคริสเตียนและสิทธิอำนาจของพระคัมภีร์

คนที่สามที่อยู่ในยุคเรืองปัญญาคือ เขาอาจจะถูกมองข้ามในเรื่องของการมีส่วนทำให้ผู้เชื่อละทิ้งความเชื่อ เขาคือ ชาล์ลี จี ฟินเนย์ (1792-1875) เขาจะต่อต้านหลักคำสอนของคณะปฏิรูปของโปรเตสแตนต์ เขาบอกว่าความรอดนั้นขึ้นอยู่กับมนุษย์ ไม่ใช่พระเจ้า เขาจึงบอกว่ามนุษย์มีสิทธิ์ที่จะเลือกเอาหรือปฎิเสธความรอดโดยขึ้นอยู่กับการกระทำหรือใจของคนๆนั้น ดังนั้นคำสอนของโปรเตสแตนต์ที่สอนว่ารอดโดยพระคุณถูกแทนด้วยคำสอนที่ว่าความบาปไม่ได้เกิดขึ้นจากอาดามหรือภาษาอังเรียกว่า Finney’s neo-Palagianism – ความคิดที่ว่าขึ้นอยู่กับบุคคลจึงเป็นหลักเกณ์ตัดสินถึงคนๆหนึ่งที่จะมาเป็นคริสเตียน และขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง ฟินเนย์ไม่ใช่ชาวอเมเนียน แต่เขาคือคนที่เชื่อเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ทฤษฎีของฟินเนย์นี้ถูกนำมาสอนแทนที่ของโปรเตสแตนต์ที่สอนว่าความรอดนั้นขึ้นอยู่กับพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นทฤษฎีนี้ในยุคต่อมาเรียกกันว่า “การตัดสินใจนิยม” หรือ “Decisionism” ได้เข้ามาแทนที่ศาสนศาสคร์ของโปรเตสแตนต์

ลองมาศึกษาดูว่าทฤษฎี การตัดสินใจนิยม นี้มีบทบาทในคริสตจักร และเป็นผลผลิตและทำให้คนละทิ้งความเชื่ออย่างไร ในหนังสือของเขาชื่อ Revival and Revivalism: The Making and Marring of American Evangelicalism 1750-1858 เฮช เมอร์เรย์ กล่าวว่ากลุ่มที่เรียกตัวเองผู้ประกาศข่าวประเสริฐได้เปลี่ยนจากอดิตเข้าสู่สตวรรษที่สิบเก้าที่อยู่ในยุคที่เรียกว่า “การตัดสินใจนิยม” ซึ่งสอนโดน ชาลลี จี ฟินเนย์ (1792-1875) เมอร์เรย์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสมบูรณ์แบบในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ

      ความคิดเรื่องการกลับใจใหม่คือการกระทำของมนุษย์โดยเฉพาะเกี่ยวกับการประกาศข่าวดี [จุดสำคัญของการประกาศ] และเป็นเพราะคนลืมไปว่าพระเจ้าเป็นพระผู้สร้าง การที่คนเชื่อในการประกาศฟื้นฟูนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับพระวิญญาณ [นี่] คือศาสนศาสตร์ของฟินเนย์(Iain H. Murray, Revival and Revivalism: The Making and Marring of American Evangelicalism 1750-1858, Banner of Truth Trust, 1994, หน้า 412-13).

หนังสือของฟินเนย์นั้นสร้างความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสมัยนั้น น่าจะอ่านบทที่สี่ก่อน โครงร่างเรื่องการกลับใจใหม่นั้นได้เปลี่ยนแปลงผิดแปลกออกไปจากดั้งเดิมไปตามหลักคำสอนของฟินเนย์ที่เรียกว่า “การตัดสินใจนิยม” การกลับใจใหม่ที่สอนโดยโปรเตสแตนต์และแบ๊บติสต์แต่กลับลืมมันออกไป โดยนำความเชื่อเรื่องการตัดสินใจของแต่ละคนเพื่อพระคริสต์ ตามความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจ “เดินหน้าออกไป” “ยกมือขึ้น” “พูดตามบทสารภาพของคนบาป” “เอาพระคริสต์เป็นที่หนึ่ง” การเชื่อ “แผนการของความรอด” หรือเอาแค่บางข้อในพระคัมภีร์มาแทนหลักคำสอนในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเรื่องของการกลับใจใหม่ และสิ่งที่พระคริสต์ทรงกระทำในจิตใจของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงจากการกลับใจใหม่สู่การตัดสินใจ ซึ่งก่อตั้งโดยฟินเนย์นั้น เป็นที่รับรู้สำหรับหลายๆคน เช่น ดร. เดวิด เอฟ เวลล์ อาจารย์สอนประวัติศาสตร์และศาสนศาสตร์ระบบที่พระคริสตธรรม Gordon-Conwell Theological Seminary กล่าวว่า “ขั้นตอนที่จะเข้าใจเรื่องของความรอดนั้นมีอยู่หลายขั้นตอน” ท่านได้ชี้ถึงการกระทำตามอย่างทฤษฎีของ ชาลลี ฟินเนย์ (David F. Wells, Ph.D., Turning to God: Biblical Conversion in the Modern World, Baker Book House, 1989, p. 93). นักศาสาศาสตร์รุ่นก่อนชื่อ ดร. วิลเลียม จี เมคลอร์ลีน จูเนียร์ ก็ได้กล่าวถึง “ชาลลี เกรดีสัน ฟินเนย์ ท่านมีชีวิตอยู่ในช่วง 1825-1835, ได้ก่อตั้งการฟื้นฟูแห่งสมัยใหม่” (William G. McLoughlin, Jr., Ph.D., Modern Revivalism: Charles Grandison Finney to Billy Graham, The Ronald Press Company, 1959, หน้า 11). นักศาสนศาสตร์คณะอีเวนจีรีคอร์ชื่อ เจ ไอ พาคเกอร์ก็เห็นด้วยอย่างนั้น และกล่าวว่า” การประกาศในยุคสมัยใหม่ยึดตามแบบ ชาลลี จี ฟินเนย์ในปี 1820” (J. I. Packer, A Quest For Godliness, Crossway Books, 1990, p. 292) ริชาร์ด ราบินโนวิต เขียนถึงขั้นตอนการกลับใจใหม่สู่การตัดสินใจในสมัยของฟินเนย์ตามทัศนะนักวิชาการของชาวโลก (Richard Rabinowitz, The Spiritual Self in Everyday Life: The Transformation of Personal Religious Experience in Nineteenth-Century New England, Northeastern University Press, 1989). และยังรวมถึงนักเทศน์คนอื่นๆ แต่ฟินเนย์เห็นจะเป็นคนที่โดดเด่นที่สุด

ดังนั้น การทำทางพันธกิจของ ชาลลี จี ฟินเนย์ นั้นเปลี่ยนจากการกลับใจใหม่สู่การตัดสินใจนิยม ตามที่บุคคลสามคนได้กล่าวเอาไว้ หลักความคิดของฟินเนย์จะแทรกซึมเข้ามาในคริสตจักรที่อยู่ในประเทศอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ และคริสตจักรในกลุ่มประเทศสหราชณาจักร ทุกวันนี้ คำพูดของ ไลน์ เมอร์เรย์ เริ่มเป็นความจริงเพราะได้เกิดขึ้นกับคนที่พูดภาษาอังกฤษ “มนุษย์ลืมไปว่าพระเจ้าคือพระผู้สร้าง และพระวิญญาณของพระเจ้าไมได้อยู่ในที่คนกลับใจใหม่” [นี่] คือทำตามหลักคำสอนของฟินเนย์” (Murray, Revival and Revivalism, หน้า 412-413) ตามที่ วิลเลียม จี แมคลอร์ลินกล่าวไว้ “ทุกวันนี้ เขาคือผู้สร้างศักราชใหม่ในอเมริกา (McLoughlin, Modern Revivalism, หน้า 11) คนทั้งหลายที่ละทิ้งความเชื่อเพราะหลักคำสอนของฟินเนย์ได้นำไปสู่การตายของคริสตจักร

ฟินเนย์คือผลผลิตแห่งยุคเรืองปัญญา ซึ่งคนที่อยู่ในยุคศตวรรษที่สิบแปดได้กล่าวถึงมนุษย์ว่า (เหตุผลของมนุษย์คือบ่อเกิดแห่งปัญญา) ยุคแห่งปราชญา หนังสือชื่อ Blackstone’s Commentaries บอกว่าในด้านกฏหมายนั้นก็รับอิทธิพลมาจากความคิดของฟินเนย์ หนังสือต่างๆของฟินเรย์นั้นใช้เหตุผลของมนุษย์เป็นที่ตั้ง แสดงถึงสิ่งที่เขามีเอาไว้ในยุคเรืองปัญญา คานท์ (d. 1804) และ มูเลอร์ (d. 1834) ได้มีการโต้แย้งว่าศาสนาคือเรื่องที่ไม่มีพระเจ้า แต่เป็นแค่ประสบการณ์ของมนุษย์ ตามหลักคำสอนของฟินเนย์ จี ดับบริว เอฟ ฮีเจล (d 1831) พูดว่าพระเจ้าคือเรื่องของการใช้กำลังอำนาจ ความคิดนี้ก็รับอิทธิพลมาจากฟินเนย์ ตามหลักความคิดของนักปราชญาในยุคเรืองปัญญาคนอย่าง อิมมานูเอล คานท์ ฟรีดรีช มูเลอร์ และ จี ดับบริว เอฟ ฮิเจล์ ต่างก็ส่งผลต่อจิตใจของวัยรุ่นในสมัยต่างๆ เพราะทุกอย่างของมนุษยนั้นขึ้นอยู่กับสติปัญญาตามทฤษฏีของฟินเนย์ และโดยทางฟินเนย์หลักคำสอนของโปรเตสแตนต์ก็ถูกทำลาย สเปอร์เจียนซึ่งอยู่ในปี 1887 ได้กล่าวไว้ว่า “คริสตจักรต่างๆถูกต้มและอยู่ภายใต้ของยุคสมัยใหม่ยุคแห่งความบาป” (“The Blood Shed for Many,” The Metropolitan Tabernacle Pulpit, Pilgrim Publications, 1974 reprint, volume XXXIII, หน้า 374).

หลักคำสอนของฟินเนย์เรื่องการตัดสินใจนิยมนั้นได้เข้ามามีบทบาทในคริสตจักร เช่น คณะของเมธอดิสต์ เพรไปทีเรียน และหลายกลุ่มของแบ๊บติสต์ ดังนั้นจึงเห็นว่า เสรีนิยมจึง ไม่ ใช่สาเหตุของการตายของคริสตจักร แต่อยู่ที่การตัดสินใจนิยมต่างหาก เพราะกลุ่มที่ยืดถือการตัดสินใจนิยมคือ จุดเริ่ม ต้นของกลุ่มเสรีนยม เพราะอาจารย์ทุกคนที่พระคริสตธรรม the Southern Baptist seminary ที่ผมเคยศึกษา โดยเฉพาะคนที่อยู่ฝ่ายเสรีนิยมต่างก็ยึดถือการตัดสินใจนิยมเป็นหลัก ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับพระคุณของพระเจ้า แต่การตัดสินใจนี้ไม่ได้ช่วยให้พวกเขากลับใจใหม่ – พวกเขามุ่งทำตามเสรีนิยมในตอนที่พวกเขาทำการศึกษานั้น การตัดสินใจนิยมคือผู้ให้กำเนิดเสรีนิยมเพราะพวกเขาคือคนที่ไม่ได้กลับใจใหม่ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ นั่นแหละคือสาเหตุของการไม่เข้าใจเรื่องราวที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ( 2 โครินธ์ 2:14) พระเยซูได้ตรัสให้กับบุคคลหนึ่งที่อยู่ในระดับอาจารย์ว่า “อย่าประหลาดใจที่เราบอกท่านว่า ท่านต้องบังเกิดใหม่” (ยอหน์ 3:7) หลักการตัดสินใจนิยมไม่ได้ช่วยให้คนกลับใจใหม่ เพราะสาเหตุนี้เองคริสตจักรในคณะโปรเตสแตนต์จึงถูกนำโดยคนที่ยังไม่ได้บังเกิดใหม่ และนี่แหละที่ทำให้ผู้เชื่อมากมายในสมัยนี้ต่างก็ละทิ้งความเชื่อ

ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม ในสิ่งที่คุณได้ศึกษา กี่ครั้งแล้วที่คุณได้ตัดสินใจ หรือ ถวายตัวครั้งแล้วครั้งเล่า สักกี่ครั้งที่คุณพยายามที่จะเอาพระคริสต์มาเป็นพระเจ้าของคุณ สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องรับประสบการณ์แห่งการกลับใจใหม่ หรือคุณเลือกที่จะเดินลงสู่นรก เราอธิษฐานเผื่อคุณว่าคุณจะยอมรับเรื่องของบาป และวางใจในพระคริสต์โดยการกลับใจใหม่อย่างแท้จริงก่อนที่จะสายเกินไป

(จบการเทศนา)
คุณสามารถอ่านบทเทศนาของ ดร. ฮิวเมอร์ ได้ในแต่ละอาทิตย์ทางอินเตอร์เนทได้ที่
www.realconversion.com. (กดที่นี่) “บทเทศนาในภาษาไทย”

You may email Dr. Hymers at rlhymersjr@sbcglobal.net, (Click Here) – or you may
write to him at P.O. Box 15308, Los Angeles, CA 90015. Or phone him at (818)352-0452.

ร้องเพลงเดี่ยวพิเศษโดย มร. เบนจามิน คินเคด กริฟฟิ:
“Christ Returneth” (โดย H. L. Turner, 1878).